หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องกรทำให้เว็บไซต์ติดหน้าแรกของ google (หรือที่เราเรียกกันอีกอย่างว่า Search Engine Optimization – SEO) และได้ศึกษามาสักพัก จนพอจะหลุดพ้นจากคำถามว่าจะเริ่มต้นมันอย่างไรได้แล้ว อยากลองลงมือทำจริง ๆ ดู คราวนี้แหละครับ พอได้ถกแขนเสื้อทำงานจริง ๆ แล้ว ก็มักต้องเจอปัญหาที่ต้องก้าวผ่านให้ได้ตั้งหลายจุดทั้งยากและง่าย บทความนี้จะลองมาสรุป 7 ปัญหาที่ชาว SEO มือใหม่ต้องเจอกัน แล้วเราจะแก้ปัญหานั้นได้อย่างไร ลองอ่านดูเผื่อจะได้แนวทางกลับไปครับ
Table of Contents
Google algorithm เยอะมาก เริ่มที่ตัวไหนก่อน
เนื่องจากอัลกอริทึมของ goole มีหลายตัวมาก หากไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนดี ผมอยากให้เริ่มไล่ทำไปเป็นขั้นตอนไป ตามลิสต์ด้านล่างนี้ครับ
Penguin
หน้าที่ของอัลกอริทึมตัวนี้ คือการทำงานคัดกรองลิงก์ที่ไม่มีคุณภาพ และตรวจจับการทำ anchor text หรือลิงก์ที่ฝังอยู่ในข้อความแบบจงใจจนเกินไป (over-optimized anchor text) ส่วนนี้เป็นสิ่งที่ต้องรีบทำอย่างแรกเลยครับ หากไม่ได้รับการแก้ไขแบบทันท่วงที โอกาสที่จะขึ้นอยู่ใน Google หน้าแรก ๆ จะเป็นไปได้ค่อนข้างยากมาก
Panda
อัลกอริทึมที่กำกับดูแลเรื่องคุณภาพของคอนเทนต์ (Quality Content) ซึ่งผมเคยกล่าวถึงไปแล้วในบทความ เริ่มทำ SEO อย่างไรให้ประสบความสำเร็จ กับ 5 เทคนิค SEO สำหรับมือใหม่ เกี่ยวกับการทำคอนเทนต์ให้มีคุณภาพ ดังนั้นสิ่งที่ขาดไม่ได้ และแทบจะเป็นหัวใจหลักของการทำ SEO ก็คือ “คอนเทนต์ที่มีคุณภาพ” จึงนับได้ว่านี่เป็นอีกอัลกอริทึมหนึ่งที่ไม่อาจมองข้าม
Hummingbird
เจ้าอัลกอริทึมตัวนี้จะมาในรูปแบบของความสามารถทางด้านภาษา แต่ไม่เหมือนเจ้าตัว Panda นะครับ มันจะใช้สิ่งที่เรียกว่า “Semantic Search” ในการอ่านบทความของเรา โดยจะสามารถเข้าใจคำที่คล้ายคลึงกัน เช่น เอสเปรสโซ่ ลาเต้ อเมริกาโน่ เจ้าอัลกิริทึมนี้จะเข้าใจได้ทันทีว่ามันเป็นเครื่องดื่มกาแฟเหมือนกัน และยังให้ความสำคัญกับเรื่อง schema markup ในการทำ rich snippets ใน SERP Feature อีกด้วย
Medic
หากเว็บไซต์ของคุณมีบทความเกี่ยวกับการแพทย์ เวชภัณฑ์ หรือยา บทความเหล่านั้นจำเป็นต้องมี E-A-T (Expertise Authority Trustworthiness) ด้วย กล่าวคือ ต้องเป็นบทความที่เขียนขึ้นจากผู้ที่มีประสบการณ์ ได้รับการอนุญาต หรือมีหลักฐานชัดเจน และมีความน่าเชื่อถือ รวมถึงเว็บไซต์นั้น ๆ ควรมี Backlinks มาจากเว็บไซต์ YMYL (Your Money Your Life) หรือเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือสูง หากไม่มีปัจจัยเหล่านี้ คุณจะไม่มีโอกาสอยู่บนหน้าแรกๆ ของ Google ได้เลย เพราะถือว่าเป็นข้อมูลที่ส่งผลกับสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้อ่านได้จริง
Mobilegeddon
ฟังชื่อครั้งแรกอาจจะดูยิ่งใหญ่มาก แต่แท้จริงแล้วอัลกอริทึมตัวนี้มีหน้าที่แค่คอยตรวจสอบว่าเว็บไซต์ของเรานั้นสามารถใช้งานบนโทรศัพท์มือถือได้ดีหรือไม่ โดยดูจากปัจจัยความเร็วในการโหลด ขนาดของรูป และอื่น ๆ อีกมากมาย ดังนั้น หากใครไม่ได้ทำตรงนี้ โอกาสที่จะแสดงบนผลการค้นหาบนมือถือก็จะมีน้อยมาก
Page Experience
อัลกอริทึมตัวนี้นี้ค่อนข้างสำคัญครับ เพราะเป็นตัวอัปเดตล่าสุดปี 2020 เลย จะมีหน้าที่คอยดูแลเรื่อง core web vitals ซึ่งจะมีคำศัพท์เฉพาะเช่น Largest Contentful Paint (LCP), First Input Delay (FID) หรือ Cumulative Layout Shift (CLS) ที่ใช้เป็นหลักเกณฑ์ชี้วัดความเร็วในการโหลดเว็บไซต์ของเรา นอกจากนี้ก็จะมีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วยบ้าง เช่น
- Mobile Friendly: แสดงผลบนโทรศัพท์มือถือได้ดีหรือเปล่า
- Safe-browsing: ตรวจสอบว่าเว็บไซจ์เราปลอดภัยจากมัลแวร์ และโปรแกรมไม่พึงประสงค์อื่น ๆ
- HTTPS: ได้ติดตั้ง certificate ให้มี HTTPS หรือยัง
- No intrusive interstitials: ในบทความของเรามีหน้าต่าง pop-up มาบดบังคอนเทนต์จนผู้อ่านต้องกดปิดกันหลายทีหรือไม่ แต่ส่วนนี้จะมีข้อยกเว้นเล็กน้อย คือ ถ้าเป็น pop-up ที่ใช้ในการถามเรื่องการยินยอมให้ใช้คุ้กกี้ ถามอายุของผู้อ่านก่อนการเข้าถึงบทความ หรือเป็น pop-up เล็ก ๆ ที่แจ้งให้โหลดแอปพลิเคชัน แบบนี้ก็ปลอดภัยนะครับ

เสาะหาเครื่องมืออันทรงพลัง
สมัยก่อนเครื่องมือสำหรับนักการตลาดสาย SEO มีไม่เยอะนัก แถมยังแพงมาก ยกตัวอย่างเช่นพวก MOZ หรือ Ahrefs ที่ไม่ได้ใช้กันฟรี ๆ การทำงานส่วนใหญ่ก็จะพึ่งพาอาศัย Google Search Console และ Google Analytic เป็นหลัก แต่ในปัจจุบันนี้มีเครื่องไม้เครื่องมือให้เลือกใช้กันอย่างหลากหลายมากขึ้น และมีหลายตัวที่ฟรีด้วย ลองมาดูกันตามลำดับ
Google Analytic
เครื่องมือนี้ไม่มีใครไม่รู้จัก เพราะเป็นตัวที่คอยเก็บรายงานการเข้าถึงเว็บไซต์ของเรา ดูได้ว่าผู้ใช้งานเข้าหน้าใดมากที่สุด ระยะเวลาที่อยู่ในเว็บไซต์ของเรานานแค่ไหน ไปหน้าไหนต่อ มาจากประเทศไหน ใช้ device อะไรในการดู เช่น มือถือ หรือ คอมพิวเตอร์มากกว่ากัน เครื่องมือนี้เอาไว้ใช้วิเคราะห์เชิงตัวเลขได้อย่างดี
Google Search Console
เป็นเครื่องมือที่ไม่มีทางลืมได้เลย เพราะเป็นเพื่อนที่แสนดีที่คอยช่วยตรวจสอบปัญหาในการเข้าถึงเว็บไซต์ของเราจากบอทที่ทาง Google ได้ปล่อยมาเก็บข้อมูล (crawl) หรือตรวจสอบกระทั่งความช้าในการโหลด หรือความผิดพลาดใน data structure ที่เราได้ทำขึ้นมา เจ้าเครื่องมือนี้ก็จะแจ้งให้ทราบ แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ ผู้อ่านค้นหาเราเจอจากคีย์เวิร์ดอะไร และเราอยู่ตำแหน่งที่เท่าไหร่ มันก็บอกนะครับ เจ๋งมากทีเดียว
Ahrefs
เป็นเครื่องมือที่ใช้งานด้าน SEO เชิงลึกได้ดีมาก สามารถตรวจสอบความผิดพลาดทางเทคนิคอล (Technical SEO) จำลองการทำงานแบบ Google bot ได้เป็นอย่างดี สามารถวัด DR UR ของโดเมนเป้าหมายได้เลย บอกก่อนว่าเครื่องมือตัวนี้ ก่อนหน้านี้ต้องเสียเงินเพื่อซื้อบริการ แต่ ณ วันนี้ (20/10/2020) มี “Ahrefs Webmaster Tools” ที่เป็นตัวฟรี ใช้งานพอได้ แต่ปิดฟีเจอร์บางตัวไป ลองเข้าไปใช้กันได้ที่ https://ahrefs.com/webmaster-tools
UBERSUGGEST
เป็นบริการหนึ่งของ Neilpatel เป็นเครื่องมือที่ใช้งานได้คล้าย ๆ กับ ahrefs แต่ความแม่นยำน้อยกว่า เท่าที่ลองทดสอบ Ubersuggest จะอัปเดตข้อมูล backlinks และ traffic ช้ากว่า ahrefs ซึ่งก็เข้าใจได้ เพราะราคาต่างกันค่อนข้างเยอะทีเดียว ถ้าใครอยากลอง เข้าไปใช้งานได้ที่ https://app.neilpatel.com/ แค่สมัครก็ใช้งานได้เลยครับ
ปัญหาโลกแตกกับการหาคีย์เวิร์ดมาเขียนบทความ
ก่อนหน้าที่จะเขียนบทความได้สักบทความหนึ่ง ต้องมีการคิดหัวข้อ คิดถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของบทความ คิดถึงปัจจัยอื่น ๆ อย่างเช่นว่า บทความที่เราเขียนขึ้นมาจะมีคนอ่านหรือเปล่า มีคนสนใจอยู่จริงไหม เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเขียนขึ้นมาแล้วจะไม่เสียเปล่า นั่นเป็นที่มาของคำว่า “Keyword Research” คือการตรวจสอบก่อนว่า คีย์เวิร์ดที่เราจะใช้ในบทความนี้ มีคนค้นหาจริงหรือไม่แล้ว search volume มันพอที่เราจะลงแรงหรือเปล่า ลองอ่านบทความเกี่ยวกับ การหาคีย์เวิร์ดสำหรับเขียนบทความ ก่อนแล้วจะได้รู้ว่าเริ่มตรงไหนดี
สร้าง Backlinks ยังไง
กระบวนการทุกอย่างที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ เราจะเรียกมันว่า Onpage Optimization แต่ทั้งหมดจะไม่มีผลอะไรเลยหากเราไม่มี backlinks เพราะการที่เว็บไซต์อื่นลิงก์มาหาเรา เราจะได้รับคะแนนที่เรียกว่า Link juice มาที่เว็บไซต์ของเรา ทำให้ค่า DR (Domain Rating) ดีขึ้น และโอกาสที่จะอยู่หน้าแรกก็มากขึ้นด้วย รู้แบบนี้แล้ว ปัญหาต่อไปคือ แล้วจะไปหา Backlinks มาจากไหนดี?
- ผลิตคอนเทนต์ที่ดี มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และนำไปเสนอให้เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อ่าน อาจจะมีโอกาสได้ backlinks มายังเว็บไซต์ของเราได้ถ้าหากเขาสนใจ
- ลองติดต่อเว็บไซต์ที่มี backlinks ไปบทความที่คลายคลึงกับของเรา เพื่อขอให้เขาเพิ่มลิงก์ของเราไว้ในบทความของเขา
- ติดต่อเขียนบทความฟรีให้เว็บไซต์อื่น และขอให้มี backlinks มายังบทความที่เกี่ยวข้องกับของเรา แต่ต้องแจ้งอีกฝั่งให้รับรู้ด้วยนะครับ
- ตอบคำถามบนเว็บบอร์ดที่เกี่ยวกับเรา และแนะนำผู้อ่านให้มาอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับคำถามของเขาบนเว็บไซต์ของเรา
Social Signal สำคัญจริงเหรอ?
หนึ่งในปัจจัยของ Ranking คือ Social signal เนื่องจากคอนเทนต์ที่ดีพอจะมีคนนำไปแชร์บนโลกโซเชียล ยิ่งมีคนแชร์เยอะและมี engagement เยอะ (Share, Like และ Comment) นั่นเป็นสัญญาณที่ดีว่าบทความของคุณเป็นที่น่าสนใจ เสิร์ชเอนจินเองก็วิเคราะห์ได้ว่าคนอื่นที่กำลังหา คีย์เวิร์ดนั้น ก็ควรจะต้องสนใจคุณเหมือนกัน ดังนั้นเลยพาบทความของคุณขึ้นไปอยู่หน้าแรก แต่ถ้าขึ้นหน้าแรกแล้วไม่มีใครสนใจกดเข้ามา คุณก็จะถูกดันลงไปอยู่หน้าสอง หน้าสาม ตามลำดับ
ทำ SEO แล้ว แต่ค้นหาทุกวันยังไม่เห็นผล
ก่อนหน้านี้ผมเองก็ประสบปัญหานี้เหมือนกัน เป็นโรคใจร้อน ทำแล้วอยากเห็นผลเลย ค้นหาบทความที่ตัวเองเขียนทุกวัน แต่ก็ไม่เจอ จึงเป็นกังวลว่าบอทของ Google จะไม่มาเก็บข้อมูลเว็บเราหรือเปล่า ปัญหานี้สามารถแก้ได้ด้วยการตรวจสอบง่าย ๆ ว่าคอนเทนต์เราอยู่ในระบบหรือยัง ด้วยหารเข้า Google Search Console เอา URL ของเราพิมพ์เข้าไปตรงช่อง “inspect any URL” จากนั้นกด enter
ถ้าขึ้นแบบนี้แสดงว่า ยังไม่ index นะครับ ลองเข้าไปดูว่า submit sitemap หรือยัง หรือลืมเปิดโพสต์เป็นการมองเห็นสาธารณะหรือเปล่า
แต่ถ้าขึ้นแบบนี้ก็ปลอดภัยหายห่วง
ไม่เห็นอยู่หน้าแรกของ gogole เลย
การที่ Google จะนำเว็บไซต์หรือคอนเทนต์ของคุณไปอยู่หน้าแรกมีหลายปัจจัยมาก ตั้งแต่คะแนนของแต่ละอัลกอริทึม, social signal, คีย์เวิร์ดที่คุณเลือกใช้, DR ของโดเมน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ที่ Google ใช้ในการวิเคราะห์เว็บไวต์ของเรา มีอยู่มากกว่า 200 ปัจจัย ดังนั้นให้ทำต่อไปเรื่อย ๆ ตาม Google Guideline อย่าพยายามหาทางลัดเลยครับ รอเวลาสัก 6 เดือนแล้วค่อยเข้ามาดูใหม่ ทำเรื่อย ๆ อย่าหยุดครับ แต่ถ้าอยากจะโชว์เพื่อนว่าเราเองก็มีโอก่าได้อยู่หน้าแรกเหมือนกันนะ มีเคล็ดลับเล็ก ๆ น้อย ๆ นั่นก็คือ ให้พิมพ์คีย์เวิร์ดที่เป็นชื่อเว็บไซต์ลงไป ยังไงก็ติดหน้าแรกแน่นอนครับ
สามารถติดตามบทความดี ๆ ที่เขียนขึ้นมาจากประสบการณ์จริงได้ในเว็บไซต์ของผม anatobom.com/blog จะมีอัปเดตเทรนด์การตลาดและเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยีเว็บไซต์เรื่อย ๆ อย่าลืมแชร์ และติดตามกันนะครับ แล้วพบกันใหม่ Happy SEO นะครับ