Anat Obom

5 เทคนิค SEO สำหรับมือใหม่ ทำด้วยตัวเองไม่ยากอย่างที่คิด

ถ้าคุณเป็นมือใหม่ที่สนใจอยากเริ่มต้นทำ SEO ให้ติดหน้าแรกของ Google บทความนี้จะช่วยให้คุณได้รู้จักกับ 5 เทคนิคสำคัญในการทำการตลาดบนเสิร์ชเอนจิน แต่คงต้องบอกไว้ก่อนสักนิดว่า เนื้อหาต่อไปนี้จะเป็นเนื้อหาพื้นฐานสำหรับมือใหม่ แต่ใครที่เป็นมือเก๋า หรือมืออาชีพอยู่แล้ว ก็สามารถมาทบทวนความรู้ไปพร้อม ๆ กันได้ครับ

เมื่อกล่าวถึงการเริ่มต้นทำ SEO ให้ติดหน้าแรกของ Google หลายคนคงจะคิดไปไกลว่าต้องเชี่ยวชาญด้านเทคนิค ต้องเก่งเทคโนโลยี หรือต้องเป็นโปรแกรมเมอร์เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงไม่จำเป็นต้องเป็นแบบนั้นเสมอไป คนที่ไม่ได้มีพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีก็สามารถเข้าใจ SEO ได้เป็นอย่างดี เทคนิคพื้นฐานในบทความนี้อาจจะเป็นตัวจุดประกายความคิดให้คุณมุ่งมั่นเพิ่ม Ranking ให้เว็บของตัวเองอยู่หน้าแรก ๆ  ของ Google ก็ได้

5 ข้อควรรู้ พื้นฐานในการทำการตลาดบนเสิร์ชเอนจิน (SEO)

เวลาเข้า Google หรือเสิร์ชเอนจินต่าง ๆ  สิ่งแรกที่เรามักจะทำคือการพิมพ์คำถามที่ต้องการเข้าไปในช่องเสิร์ช เช่น “มาการองมีส่วนผสมอะไรบ้าง” หรือ “เปลี่ยนน้ำมันเครื่องที่ไหนดี” คำถามเหล่านี้ในทางเทคนิคเราเรียกมันว่า “Search Query” ซึ่งเป็นคำที่ผู้ใช้งานพิมพ์ จากนั้น Google จะไปค้นหาข้อมูลในคลังว่ามีเว็บไซต์ใดเกี่ยวข้องกับคำนี้บ้าง ส่วน Keywords คือการที่เว็บไซต์ของเรามีคำใดคำหนึ่งที่ตรงกับ Search Query ของผู้ใช้งาน เช่น เว็บไซต์ขายส่วนผสมขนม และมีหน้าเพจชื่อว่า “ลองทำมาการองด้วยส่วนผสมง่าย ๆ” เป็นหน้าแนะนำ หากในหน้านั้นมีคำว่า “มาการอง” และคำว่า “ส่วนผสม” ในจำนวนที่พอดี คำเหล่านั้นเราจึงจะเรียกมันว่า Keywords กล่าวคือ เป็นคำที่เรารอให้ผู้ใช้งานมาค้นหาผ่านทางเสิร์ชเอนจินต่าง  ๆ ดังนั้น ในการเริ่มต้นทำ SEO จึงต้องดูว่าเว็บไซต์มีคีย์เวิร์ดที่คนสนใจ และเกี่ยวเนื่องกับสินค้าหรือบริการของเราหรือยัง

2. Search Volume

กล่าวถึง Search Query และ Keywords ไปแล้ว สิ่งต่อมาที่ต้องทำก่อนใส่คีย์เวิร์ดลงในเว็บไซต์ คือต้องรู้ก่อนว่าคีย์เวิร์ดที่จะใส่ลงไปนั้น มีคนเสิร์ชหาจริง ๆ หรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น เราขายส่วนผสมของมาการองที่เรียกว่า “ผงอัลมอนด์ป่น” แต่ดันคิดเอาเองว่าคนอาจจะใช้คำว่า “อัลมอนด์ผง” หรือ “เศษผงอัลมอนด์ป่น” ซึ่งคำเหล่านี้อาจจะไม่มีคนเรียกแบบนั้นจริง ๆ เลยก็ได้ ดังนั้นจึงไม่ควรเดาคีย์เวิร์ดเอาเอง หลายคนคงเกิดคำถามต่อมาว่า แล้วจะเอาคีย์เวิร์ดที่มีคนค้นหาจริง ๆ มาจากไหน? ปัจจุบันนี้มีเครื่องมือฟรีให้ใช้ได้เยอะแยะเลยครับ ลองอ่านบทความ เครื่องมือที่ใช้เลือก SEO Keywords ไว้ทำ Content แล้วลองหาดูว่า คีย์เวิร์ดที่ต้องการมี Search Volume เยอะพอหรือไม่ ถ้า Search Volume เยอะพอ ก็ควรใช้คำนั้นเป็นคีย์เวิร์ด แต่ถ้าน้อยจนเกินไป ก็ไม่ควรใส่คำนั้นลงในเว็บไซต์ อย่างไรก็ตาม หากคีย์เวิร์ดนั้นเป็นชื่อแบรนด์ จะสามารถใส่ได้ ไม่เสียหายอะไรครับ

3. Keywords Difficulty

หรือความยากง่ายของคีย์เวิร์ด การจะทำ SEO นั้น ไม่ใช่ว่าเห็นคีย์เวิร์ดที่มี Search Volumn เยอะ ๆ แล้วจะใส่ไปได้เลย แต่เราต้องพิจารณาความยากง่ายของคีย์เวิร์ดนั้นด้วย ว่าแต่ละคำมีความยากง่ายในการบิลด์เพื่อให้ติด Ranking มากแค่ไหน ถ้าใครได้ใช้ Ubersuggest ตามลิงก์ที่แนบไว้ในข้อ 2 แล้ว จะเห็นได้ว่าในเครื่องมือจะมีหัวข้อ SD หรือ SEO Difficulty ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ความยากของการทำให้คำนี้ติดหน้าแรก อย่างไรก็ตาม หากคีย์เวิร์ดคำนั้นมี Search Volume ที่เยอะมากพอ การทุ่มความพยายามเพื่อทำคอนเทนต์ก็จะคุ้มค่า เพราะเว็บไซต์ของเราจะมีโอกาสผ่านเข้าสู่สายตาของคนจำนวนมาก

4. ต้องศึกษาคู่แข่ง

นอกจากพัฒนาเว็บไซต์ของตัวเองแล้ว การรู้ว่าเราตามคู่แข่งอยู่แค่ไหนก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน หลายครั้งเรามักไม่เข้าใจว่าทำไมคู่แข่งจึงอยู่หน้าแรก ในขณะที่เว็บไซต์เรากลับไม่ติดอันดับ ทั้ง ๆ ที่เราก็ทำคอนเทนต์ให้ดูดี อ่านง่าย มีข้อมูลต่าง ๆ ครบถ้วนแล้ว ก่อนอื่นเราต้องทราบก่อนว่า มันมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมายที่ส่งผลต่ออันดับของผลลัพธ์การค้นหา (Search result) ไม่ว่าจะเป็น Backlinks, อายุของโดเมน, ความเร็วของเว็บไซต์, จำนวนหน้าของเว็บไซต์, Social signals และอื่น ๆ อีกมากมาย ลองใช้เครื่องมือที่แนะนำไป ศึกษาคู่แข่งก่อนว่าอีกฝ่ายทำอะไรไปบ้าง เราตามเขาอยู่กี่แต้ม แล้วลองประเมินดูว่าเราสามารถที่จะทำได้เหมือน หรือดีกว่าที่คู่แข่งทำหรือไม่

5. สร้างคอนเทนต์คุณภาพ

อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เราอยู่หน้าแรกของ Google ได้ ก็คือคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ ถ้าหากเราศึกษาดูแล้วพบว่าคู่แข่งทำคอนเทนต์ได้อาทิตย์ละ 10 คอนเทนต์ เราอยากจะทำบ้าง จึงเขียนบทความสั้น ๆ 20 บรรทัด ข้อมูลรวมกันมั่ว ๆให้มันเยอะเข้าไว้ก่อน บอกเลยครับว่า Google ไม่ชอบแบบนี้แน่นอน มิหนำซ้ำจะโดนถอดออกจาก Search result อีกด้วย เนื่องจาก Google เห็นว่าบทความของคุณไม่มีคุณภาพ ไม่น่าเชื่อถือ ไม่เหมาะให้ผู้อ่านเข้ามาอ่าน ดังนั้นระบบจึงไม่แสดงเว็บไซต์ของคุณบนผลการค้นหาอีกต่อไป นับว่าเป็นความผิดพลาดที่น่ากลัวอย่างหนึ่งในการทำ SEO ดังนั้น จงทำบทความให้ดี ให้มีคุณภาพ ไม่ควรเน้นเอาแต่ปริมาณอย่างเดียว บทความที่ดีตามหลักเกณฑ์ควรจะมี 800 คำขึ้นไป หรือจะให้ดีเยี่ยมก็ต้อง 1,500 คำขึ้นไป จึงจะเรียกได้ว่าเป็นบทความที่มีคุณภาพ รวมถึงต้องระวังเรื่องคำสะกดที่ผิด หากพบแล้วต้องรีบแก้ไขให้เร็วที่สุด รู้ไหมครับว่าปัจจุบัน Google อ่านภาษาไทยออกแล้ว และมีระบบที่ฉลาดถึงขนาดเข้าใจความหมายแทบทุกประเภทของคำด้วยซ้ำ มีความสามารถทางภาษาแทบจะเทียบเท่ามนุษย์ ดังนั้นเราควรเขียนบทความให้คนอ่าน ไม่ใช่ให้เสิร์ชเอนจินอ่าน

สุดท้ายนี้อยากจะทิ้งท้ายไว้ว่า การทำให้ Google รักเรา และเอาเว็บไซต์ของเราขึ้นหน้าแรกนั้นไม่ใช่เรื่องยาก ไม่ว่าจะมือใหม่ มือเก่า หรือมือเก๋าขนาดไหนก็ย่อมต้องมีครั้งแรกเสมอ ซึ่งเมื่อเป็นการเริ่มต้นใหม่ แน่นอนว่าต้องมีความขลุกขลักบ้างเล็กน้อยเป็นธรรมดา แต่ถ้าหากมีไกด์ไลน์ดี ๆ มีคนสอน SEO ที่ไม่ปิดบังความรู้ มีตัวอย่างให้ทดลองทำ มีเครื่องไม้เครื่องมือดี ๆ เอาไว้ให้ใช้งาน ความสำเร็จอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมครับ 


สามารถติดตามบทความดี ๆ ที่เขียนขึ้นมาจากประสบการณ์จริงได้ในเว็บไซต์ของเรา anatobom.com/blog หรือกดไลค์เพื่อรับข่าวสารเกี่ยวกับดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งอย่างรวดเร็วทันใจได้ที่เพจเฟสบุ๊ก https://www.facebook.com/enablerspace/ ครับ

Infographic

infographic 5 เทคนิค SEO สำหรับมือใหม่ ทำด้วยตัวเองไม่ยากอย่างที่คิด
infographic 5 เทคนิค SEO สำหรับมือใหม่ ทำด้วยตัวเองไม่ยากอย่างที่คิด

Exit mobile version