POPCAT คืออะไร เหมือนไม่มีประโยชน์ แต่มีประโยชน์มากกว่าแค่เกม

POPCAT คืออะไร เหมือนไม่มีประโยชน์ แต่มีประโยชน์มากกว่าแค่เกม

เกมPOPCAT คือเกมที่ตอนนี้เป็นกระแสไปทั่วพุ่งติดเทรนด์ไปทั่วโลก แฮชแท็ก #POPCAT ติดในเทรนด์ Twitter  ด้วยความง่ายของเกมเพียงแค่คลิ๊กเมาส์ หรือคีย์บอร์ดบนเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือถ้าเป็น Smart Phone ก็แตะที่หน้าจอที่มีรูปแมวชื่อว่า Oatmeal โดยการกด 1 ครั้ง คะแนนขึ้น 1 คะแนน ถ้าใช้ 5 นิ้วกดพร้อมกันคะแนนก็ขึ้น 5 คะแนนต่อการกด 1 ครั้ง ง่ายๆ แค่นี้เอง โดยจะมีคะแนนรวม เป็น PPS : Pops Per Second แบ่งตาม Location ของประเทศของผู้เล่น ขณะที่ผมเขียนบทความนี้ วันที่ 16 สิงหาคม 2020 เวลา 11:55 นาที) เมืองไทยขึ้นอันดับที่ 1 ด้วยคะแนน 304.1K PPS คะแนนรวมคือ 41,907,539,185 Pops ตามมาด้วย Taiwan มีคะแนน 571K PPS คะแนนรวมคือ 28,455,128,554 Pops นี่มันอารมณ์แข่งโอลิมปิกกันเลยทีเดียว ถ้าใครอยากลองเล่นก็เข้าไปที่ popcat.click แล้วก็ตะลุยกดกันได้เลย

Popcat Total PPS : Pops Per Second

POPCAT มาจากไหน ?

POPCAT กำเนิดมาจาก Developer 3 คน Joshua O’Sullivan, Freddy Heppell, Edward Hails เค้าเป็นนักศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ของมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ (University of Sheffield) ในประเทศอังกฤษ ที่ใช้ Meme ของแมวน้อยชื่อว่า Oatmeal มาเป็นตัวเอกของเกมนี้

ผู้พัฒนาเกมได้อะไรจากการทำครั้งนี้ ?

แน่นอนอยู่แล้วการพัฒนาเกมแบบนี้ขึ้นมามันต้องมีค่าใช้จ่ายสำหรับ Server ที่สามารถรองรับผู้เล่นทั่วโลกพร้อมกันในจำนวนมากๆ หรือเรียกว่า concurrent users ยิ่งคนเล่นเยอะ spec ของ server ก็ต้องสูงมากขึ้นตามลำดับ ทั้ง bandwidth, memory, cpu, hardisk, และ database ผู้พัฒนาเองก็ได้เปิดรับบริจาคค่า server ที่ https://ko-fi.com/popcatclick

ซึ่งในวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมาทางJoshua O’Sullivan ก็ประกาศว่าจำเป็นจะต้อง upgrade server ของเค้าอีกครั้งเพื่อรองรับ Traffic ที่มาจากประเทศไทย

เล่น Popcat แล้วได้อะไรขึ้นมา ?

เป็นคำถามที่เกิดขึ้นมาในหัวของหลายๆคนก็คือ แล้วมันได้อะไรขึ้นมามั๊ย? ได้เงินหรือได้อะไรจากการเล่นมั๊ย คำตอบคือไม่ได้อะไรเลยจากการเล่น นอกจากฆ่าเวลาแข่งขั้นไปกับเพื่อน ถ่าย clip ลง Social media กันว่าใครกดได้เร็วแค่ไหน หรือกดได้คะแนนรวมเท่าไหร่แล้ว อีกทั้งยังเป็นความภูมิใจระดับประเทศนี่ซิที่มันยอมไม่ได้เอาเสียเลย แล้วมันมีประโยชน์แค่นั้นจริงๆเหรอ

มุมมองของ Developer ที่มีต่อ POPCAT

มุมมองของ Developer ที่ได้เล่น POPCAT คือผู้พัฒนาเขียนโปรแกรมอย่างไรให้ Handle request มหาศาลแบบนี้ และ update database อย่างไรไม่ให้ล่ม และอีกอย่างที่ขาดไม่ได้คือจะ Hack อย่างไรให้ไม่โดน banned เนื่องจากเกมนี้เขียนขึ้นมาเป็นลักษณะของ HTML Game ที่ใช้ Vue.js framework เป็น front end ส่วน back end ก็ใช้ Go Language

เมื่อลองเข้าเล่นดู code front end ส่วนใหญ่จะถูกฝังอยู่ในไฟล์ .js ถ้าใครลอง view source ดูก็จะเห็นดังนั้นการแงะแกะ code ไม่ได้เป็นเรื่องยากสำหรับ Developer อยู่แล้ว ก็เลยมีบทสรุปออกมาว่า

จะมีการส่งค่ากลับ Server ทุกๆ 30 วินาที และ การกดต้องไม่เกิน 800 ครั้งต่อ 30 วินาทีถ้าหากว่าเกิน 800 ก็จะปัดไปเป็น 800 และยังเสี่ยงถูก Banned ซะอีกด้วย แต่ถ้าถูก Banned จริงๆ ก็แค่ลบ cookies ออกแล้วก็เล่นใหม่ก็ได้ หรือเปิด Browser แบบ incognito mode ก็สามารถเล่นได้ใหม่แล้ว บอกก่อนนะครับผู้เขียนไม่ได้แนะนำให้ Hack หรือโกงเกมให้ได้มาซึ่งความชนะ หรือสร้างความเดือดร้อนนะครับ แต่เอาไว้เพื่อการศึกษาหาความรู้เพียงเท่านั้น แต่ถ้ากดเกิน 800 ครั้งต่อกันถึง 10 ครั้งจะถูกแบนไปถึง 12 ชั่วโมงเลยทีเดียว

มุมมอง ITProfessional ต่อ POPCAT

HTML เกมที่เปิดแบบ Public access แบบนี้จำเป็นจะต้องมี Server ที่แข็งแรง Database Server ที่รับ Request แบบหนักหน่วงและแน่นอนต้องมีระบบความปลอดภัยที่ดี เพราะว่าเมื่อเกมดังขึ้นมาแล้วย่อมมีผู้ที่ไม่ประสงค์ดีไล่ Hack เกมอันโด่งดังแบบเป็นบ้าเป็นหลัง ทั้งเจาะผ่านช่องโหว่ของตัว Framework เอง หรือแม้กระทั้งเจาะผ่านช่องโหวของ Server

ดังนั้นแนวทางการศึกษาของเหล่า Network engineer, DevOps, ITProfessional ก็คือการ scale server อย่างไรให้รองรับ Workload สูงๆ หรือการทำ Auto scaling แบบต่างๆ ทั้งนี้การออกแบบการรับส่ง request อย่างไรให้ตอบสนองได้เร็วและไม่ล่ม และ Security Layer ที่คอยป้องกันการเข้าถึงแบบไม่พึงประสงค์ ยังเป็นเรื่องที่ต้องศึกษากันอย่างไม่หยุดยั้ง

ในหลายบริษัทไม่มีการวางแผนล่วงหน้าเอาไว้พอ Lunch Product ออกสู่ตลาดจริงๆแล้วทำให้เกิดความเสียหายเช่น server ล่ม ขณะใช้งาน หรือ ช้าจนเกินไปทำให้ request timeout ต้องให้ผู้ใช้เข้ามาใช้งานใหม่ก็ไม่น่าจะเป็น user experience ที่ดีเอาเสียเลย โดยเกมนนี้ คุณJoshua ก็ได้เลือกใช้ Cloudflare CDN ในการช่วยกระจาย Load ของตัว leaderboard (https://leaderboard.popcat.click/) และใช้ Clouflare ป้องกั้น website หลัก (https://popcat.click) ดูจากการ check NS Records ของ domain popcat.click

Popcat NS Records

มุมมอง Digital Marketing ต่อ POPCAT

website popcat.click มี traffic ของผู้ใช้เข้าถึงอย่างมหาศาลและเป็นเวลานานในมุมของนักการตลาดดิจิตอลมองว่า website นี้มี value มากไม่ว่าจะเป็นการติดป้ายโฆษณา หรือ ฝาก content แบบ sponsor post หรือลักษณะคล้ายกันเพื่อได้มาซึ่ง Click, Impression หรือ convertion กรณีนี้เหมือนกับ flappybird ที่ได้รายได้มหาศาลจาก Banner โฆษณาที่ติดไว้ขณะเล่น เผื่อผู้เล่นไปกดโดน (Pay-Per-Click) หรือได้มองเห็น 1,000 ครั้งก็ได้เงินแล้ว (Pay-per-impression)

ถ้าหากในมุมของ Branding เองเจ้าตัวเกม POPCAT และ แมว Oatmeal น่าจะต้องไปจดลิขสิทธิ์ เพื่อเริ่มทำสินค้าของตัวเองและมีเจ้าแมว Oatmeal เป็นตัวหลัก (อย่าลืมแบ่งส่วนแบ่งให้กับเจ้าของตัวจริงด้วยละเดี๋ยวจะโดนฟ้องเอา)

ต่อยอด POPCAT

จากกรณีศึกษาความสำเร็จของ flappybird , wormate.io จะมีผู้พัฒนาเกมลักษณะเดียวกันออกมาอีกมากมาย อาจจะเป็น POP Panda, POP Camelian และ pop โน่นนี่นั่นนี่ อีกมากมาย เพื่อความต้องการส่วนแบ่งการตลาดแห่งความสำเร็จนี้ อีกทั้งความท้าทายของผู้พัฒนาเกม POPCAT เองที่จะผลิตเกมอื่นๆออกมาเช่น POPDOG ให้ปังเหมือน POPCAT ได้หรือไม่

สรุป

สุดท้ายนี้ POPCAT อาจจะเป็นแค่เกมง่ายๆ เล่นแก้เบื่อ ที่บางคนคิดว่ามันไร้สาระ แต่ถ้าผู้เล่นได้มองเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจาการเรียนรู้ผ่านการเล่น มันจะเป็นประโยชน์มากต่อผู้เล่นเอง อย่างน้อยๆเด็กที่สนใจการเขียนเกมก็น่าจะมีแรงบัลดาลใจให้ศึกษา เพื่อพัฒนาเกมคลายๆกันแบบนี้ ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีผู้ได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้ผ่านการเล่นไม่มากก็น้อย

สามารถติดตามบทความอื่นๆของผมได้ที่ บทความที่น่าสนใจ